TOP > THA-TOP > รวมตัวอย่างคำปรึกษา  >  ข้อมูลการใช้ชีวิต

รวมตัวอย่างคำปรึกษา


สถานภาพการพำนักและอื่นๆ ข้อมูลการใช้ชีวิต  การแลกเปลี่ยนนานาชาติและอื่นๆ
แรงงาน ภาษี ประกัน-เงินบำนาญ การแพทย์-สวัสดิการ ที่อยู่อาศัย
แต่งงาน-หย่าร้าง การคลอดบุตร การศึกษา รถยนต์ ข้อมูลการใช้ชีวิตอื่นๆ

รายนามองค์กรที่เกี่ยวข้อง  / กลับไปสารบัญ

กรุณาบอกเกี่ยวกับกระบวนการเมื่อชาวญี่ปุ่นกับชาวต่างชาติแต่งงานกันที่ญี่ปุ่นด้วย

กรณีเช่นนี้จะต้องดำเนินการแต่งงานตามวิธีแบบญี่ปุ่น

เอกสารจำเป็นมีดังต่อไปนี้

  1. ทะเบียนสมรส (ต้องมีลายเซ็น, ประทับตราจากพยาน 2 คนที่มีอายุ 20 ปีหรือมากกว่า)
  2. ทะเบียนบ้านของคู่สมรสชาวญี่ปุ่น
  3. เอกสารรับรองการมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขสมรสพร้อมฉบับแปลของคู่สมรสชาวต่างชาติ
  4. เอกสารรับรองสัญชาติของคู่สมรสชาวต่างชาติ (เช่น พาสปอร์ต, เอกสารรับรองข้อมูลที่ระบุในต้นขั้วลงทะเบียนชาวต่างชาติ เป็นต้น)

เอกสารรับรองการมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขสมรสจะออกโดยสถานทูตของประเทศนั้นในญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจไม่เหมือนกันในบางประเทศ ดังนั้นต้องตรวจสอบเป็นรายๆ ไป

เอกสารที่จัดทำขึ้นในภาษาต่างประเทศจะต้องแนบฉบับแปลที่เปิดเผยชื่อผู้แปลชัดเจน

นำเอกสารข้างต้นไปยื่นที่สำนักงานเทศบาลประจำภูมิลำเนา, ถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่น หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามสำนักงานเทศบาล

และต้องแจ้งไปยังสถานทูตหรือสถานกงสุลประเทศของคู่สมรสชาวต่างชาติด้วย

กลับไปด้านบนสุด

กรุณาบอกเกี่ยวกับกระบวนการเมื่อชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่นแต่งงานกันเองที่ญี่ปุ่นด้วย

กรณีเช่นนี้ สามารถยื่นทะเบียนสมรสที่สำนักงานเทศบาลประจำถิ่นที่อยู่อาศัยตามวิธีแบบญี่ปุ่นได้
เอกสารจำเป็นมีดังต่อไปนี้

  1. ทะเบียนสมรส (ต้องมีลายเซ็น, ประทับตราจากพยาน 2 คนที่มีอายุ 20 ปีหรือมากกว่า)
  2. เอกสารรับรองการมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขสมรสพร้อมฉบับแปลของทั้งสามีและภรรยา
  3. เอกสารรับรองสัญชาติของทั้งสามีและภรรยา (เช่น พาสปอร์ต, เอกสารรับรองข้อมูลที่ระบุในต้นขั้วลงทะเบียนชาวต่างชาติ เป็นต้น)

เอกสารรับรองการมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขสมรสจะออกโดยสถานทูตของประเทศนั้นในญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจไม่เหมือนกันในบางประเทศ ดังนั้นต้องตรวจสอบเป็นรายๆ ไป

เอกสารที่จัดทำขึ้นในภาษาต่างประเทศจะต้องแนบฉบับแปลที่เปิดเผยชื่อผู้แปลชัดเจน

การสมรสจะมีผลในประเทศของคู่สมรสชาวต่างชาติหรือไม่นั้นจะไม่เหมือนกันในบางประเทศ ดังนั้นกรุณาสอบถามข้อมูลกับสถานทูตในประเทศญี่ปุ่น


[ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน-หย่าร้าง]
กฎหมายเรื่องการแต่งงาน, หย่าร้าง และอื่นๆ นั้นถูกกำหนดไว้ไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ สำหรับสามีภรรยาที่มีสัญชาติไม่เหมือนกัน จะตัดสินตามเกณฑ์ต่อไปนี้ว่าจะดำเนินกระบวนการตามกฎหมายของประเทศใด

  1. เมื่อกฎหมายประเทศต้นทางของสามีกับภรรยาเหมือนกัน→กฎหมายของประเทศนั้น
  2. กฎหมายประเทศต้นทางของสามีกับภรรยาไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นฐานหลักในการใช้ชีวิตเป็นประเทศเดียวกัน→กฎหมายของประเทศที่อาศัย
  3. ประเทศต้นทางและประเทศที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นฐานหลักในการใช้ชีวิตของทั้งสามีและภรรยาเป็นคนละประเทศ→กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับสามีภรรยามากที่สุด
หากมีสัญชาติญี่ปุ่นและอาศัยในญี่ปุ่น กฎหมายญี่ปุ่นจะได้รับการพิจารณาก่อน

กลับไปด้านบนสุด

เป็นชาวต่างชาติ ปัจจุบันพำนักอยู่ในญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมาย กำลังคบหากับชาวญี่ปุ่นอยู่ จะสามารถแต่งงานด้วยได้หรือไม่

หากทำตามเงื่อนไขสำคัญในการสมรสครบถ้วน ก็สามารถแต่งงานได้โดยไม่เกี่ยวว่าจะมีสถานภาพการพำนักหรือไม่ เพราะการมีหรือไม่มีสถานภาพการพำนักนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญสำหรับการสมรส แต่ต้องมีเอกสารจำเป็นสำหรับการสมรสครบถ้วน และไม่ใช่ว่าจะได้รับสถานภาพการพำนักโดยอัตโนมัติเพียงแค่แต่งงานแล้ว การใช้ชีวิตแต่งงานอย่างสบายใจนั้นจะต้องดำเนินการยกเลิกสถานะพำนักเกินกำหนดเวลา ควรรำลึกด้วยว่าอาจไม่ได้รับการรับรองให้พำนักเสมอไป

กลับไปด้านบนสุด

เป็นชาวต่างชาติที่แต่งงานกับชาวญี่ปุ่นตั้งแต่ 3 ปีก่อน และปัจจุบันอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น ต้องการจะหย่า ควรทำอย่างไรดี

หากหย่าที่ญี่ปุ่น จะมี (1)วิธีหย่าโดยยินยอมเห็นชอบ (2)วิธีหย่าโดยการไกล่เกลี่ย และ (3)วิธีหย่าโดยการพิจารณาจากศาล แต่ถ้าเป็นการแต่งงานระหว่างประเทศ จะมีทั้งกรณีที่สามารถและไม่สามารถหย่าโดยยินยอมเห็นชอบได้ ซึ่งขึ้นกับกฎหมายที่ครอบคลุมการหย่าร้าง

ตามกฎหมาย หากสามีภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นที่ครอบครองที่อยู่เป็นหลักแหล่งในญี่ปุ่น (สำหรับสำมะโนครัวในเชิงปฏิบัติ เพียงแค่ลงทะเบียนเป็นผู้อยู่อาศัยจะถือว่าเพียงพอแล้ว) ระบุไว้ว่าต้องใช้กฎหมายญี่ปุ่น

กรณีนี้ กฎหมายแพ่งของญี่ปุ่นจะมีผลครอบคลุม ทำให้หย่าโดยยินยอมเห็นชอบได้ หากนำเอกสารต่อไปนี้ไปยื่นที่สำนักงานเทศบาลประจำถิ่นที่อยู่อาศัยหรือภูมิลำเนา จะสามารถหย่าร้างได้

  1. ทะเบียนหย่า (ต้องมีลายเซ็น, ประทับตราจากพยาน 2 คนที่มีอายุ 20 ปีหรือมากกว่า)
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. เอกสารยืนยันตนของผู้ยื่น (เช่น พาสปอร์ต เป็นต้น)

หากต้องการหย่าโดยการพิจารณาจากศาล ก่อนอื่นต้องแสดงความประสงค์ขอไกล่เกลี่ยต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าไกล่เกลี่ยสำเร็จจะถือว่าหย่าเรียบร้อยแล้ว

กลับไปด้านบนสุด

เป็นคู่สามีภรรยาต่างชาติสัญชาติเดียวกันที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น ต้องการจะหย่า กรุณาบอกเกี่ยวกับกระบวนการด้วย

หากทั้งสองฝ่ายเป็นชาวต่างชาติ จะหย่าร้างตามกฎหมายประเทศต้นทาง กรุณาติดต่อสอบถามสถานทูตหรือสถานกงสุลในญี่ปุ่น

หากการหย่าโดยยินยอมเห็นชอบเป็นที่ยอมรับตามกฎหมายประเทศต้นทาง การยื่นคำร้อง “หย่าโดยยินยอมเห็นชอบ” จะถูกยอมรับในญี่ปุ่น เอกสารที่ต้องยื่น มีดังต่อไปนี้

  1. เอกสารรับรองสัญชาติ
  2. เอกสารที่เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการสมรส
  3. เอกสารรับรองระบุเนื้อความว่าสามีภรรยาสามารถหย่าโดยยินยอมเห็นชอบแบบญี่ปุ่นได้

กลับไปด้านบนสุด

หย่าร้างกับชาวญี่ปุ่นแล้ว สถานภาพการพำนักปัจจุบันคือ “คู่สมรสของชาวญี่ปุ่น” จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานภาพการพำนักหรือไม่

แม้หลังจากหย่าร้างแล้ว ก็สามารถพำนักอยู่ที่ญี่ปุ่นต่อไปได้จนครบกำหนดพำนัก

แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในฐานะ “คู่สมรสของชาวญี่ปุ่น” ได้ หากประสงค์จะพำนักต่อ กรุณายื่นคำร้องเปลี่ยนแปลงสถานภาพไปเป็น “ผู้ตั้งถิ่นฐาน” หรืออื่นๆ ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง

อาจมีการยอมรับในบางกรณีหากมีเหตุผล เช่น พำนักอยู่ในญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานานพอควร, เลี้ยงดูบุตรชาวญี่ปุ่น และอื่นๆ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาปรึกษาสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนาโกยะ หรือศูนย์ข้อมูลรวมการพำนักของชาวต่างชาติ

กลับไปด้านบนสุด

องค์กรสาธารณประโยชน์ สมาคมแลกเปลี่ยนนานาชาติจังหวัดไอจิ
ภายในศูนย์ราชการซังโนะมารุ จังหวัดไอจิ 2-6-1 Sannomaru, Naka-ku, Nagoya 460-0001
TEL : 052-961-8744 / E-mail:somu*aia.pref.aichi.jp (กรุณาเปลี่ยน * เป็นเครื่องหมาย @)
| ติดต่อสอบถาม | แผนที่เว็บไซต์
(C)2011 AICHI INTERNATIONAL ASSOCIATION