TOP > THA-TOP > รวมตัวอย่างคำปรึกษา  >  ข้อมูลการใช้ชีวิต

รวมตัวอย่างคำปรึกษา


สถานภาพการพำนักและอื่นๆ ข้อมูลการใช้ชีวิต  การแลกเปลี่ยนนานาชาติและอื่นๆ
แรงงาน ภาษี ประกัน-เงินบำนาญ การแพทย์-สวัสดิการ ที่อยู่อาศัย
แต่งงาน-หย่าร้าง การคลอดบุตร การศึกษา รถยนต์ ข้อมูลการใช้ชีวิตอื่นๆ

รายนามองค์กรที่เกี่ยวข้อง  / กลับไปสารบัญ

กำลังหาโรงพยาบาลที่รองรับหลายภาษาอยู่

สามารถค้นหาข้อมูลการแพทย์อย่างเช่นโรงพยาบาล, สถานีอนามัย, สถานทันตกรรม, ร้านขายยา, สถานสงเคราะห์มารดา และอื่นๆ ภายในจังหวัดที่รองรับภาษาต่างประเทศได้จากเครือข่ายข้อมูลการแพทย์ไอจิ (https://iryojoho.pref.aichi.jp/)

และสามารถค้นหาองค์กรการแพทย์ฉุกเฉินภายในจังหวัดที่รองรับภาษาต่างประเทศได้จากไกด์การแพทย์ไอจิ (http://www.qq.pref.aichi.jp/) นอกจากนี้ยังมีบริการตอบรับอัตโนมัติเป็นเสียงพูดกับ FAX ใน 5 ภาษาด้วย (โทรศัพท์ 050-5810-5884)

ระบบล่ามการแพทย์ไอจิ (http://www.aichi-iryou-tsuyaku-system.com/) จะจัดส่งล่ามการแพทย์ไปยังโรงพยาบาลที่ใช้บริการระบบ และให้บริการล่ามผ่านโทรศัพท์ ใช้บริการล่ามได้หรือไม่นั้น กรุณาสอบถามกับทางโรงพยาบาล มีค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ

กลับไปด้านบนสุด

มีองค์กรที่สามารถปรึกษาการรักษาเป็นภาษาต่างประเทศทางโทรศัพท์หรือไม่

ศูนย์ข้อมูลการแพทย์นานาชาติ AMDA (https://www.amdamedicalcenter.com/) จะคอยให้บริการข้อมูลการแพทย์ต่างๆ ทางโทรศัพท์

ศูนย์ข้อมูลการแพทย์นานาชาติ AMDA
โทรศัพท์ 03-6233-9266
ภาษา รองรับเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างง่าย (จันทร์-ศุกร์)
เวลารองรับ 12.00-15.00 น.

ช่องทางปรึกษาเกี่ยวกับการแพทย์อื่นๆ

(กิจกรรมพิเศษ) ศูนย์ข้อมูล HIV กับสิทธิมนุษยชน โตเกียว
โทรศัพท์ 03-5259-0256
ภาษา ภาษาอังกฤษ (วันเสาร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน)
เวลารองรับ 12.00-15.00 น.

ปรึกษาทางจิตใจแก่ชาวต่างชาติ (มูลนิธิสาธารณประโยชน์) ศูนย์นานาชาตินาโกยะ

โทรศัพท์ 052-588-7040
ภาษา ภาษาโปรตุเกส, ภาษาสเปน, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน
เวลารองรับ 12.00-15.00 น.

ปรึกษาสุขภาพ (กิจกรรมพิเศษ) สมาคมช่วยเหลือชาวบราซิลที่อาศัยในญี่ปุ่น (SABJA) โตเกียว

โทรศัพท์ 050-6861-6400
ภาษา ภาษาโปรตุเกส (จันทร์-เสาร์)
เวลารองรับ 9.00-16.00 น. (รับจอง) 9.00-20.00 น. (เวลาให้คำปรึกษา)

กลับไปด้านบนสุด

ค่ารักษาอาการป่วยพอกพูนจนใช้ชีวิตแต่ละวันลำบากขึ้นทุกที ไม่ทราบว่ามีระบบช่วยเหลือหรือไม่

หากค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (ค่ารักษาพยาบาล, ค่ายา) ที่ชำระ ณ ช่องทางติดต่อสอบถามของโรงพยาบาล และอื่นๆ มีมูลค่าเกินจำนวนเงินที่กำหนด เงินส่วนที่เกินจะถูกจ่ายคืนตามการเรียกเก็บของเจ้าตัว

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ผู้ที่สมัครเข้าประกันสุขภาพแห่งชาติกรุณาติดต่อสอบถามที่แผนกประกันสุขภาพแห่งชาติของสำนักงานเทศบาลในเขตที่อยู่ ส่วนผู้ที่สมัครเข้าประกันสังคมกรุณาสอบถามบริษัทหรือสมาคมประกันสุขภาพแห่งชาติ

กลับไปด้านบนสุด

ทราบมาว่าหากเลี้ยงดูเด็กอ่อนอยู่ จะได้รับเงินช่วยเหลือ

ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กจนถึงวันที่ 31 มีนาคมหนแรกหลังวันเกิดครบอายุ 15 ปี จะได้รับ “เงินช่วยเหลือเด็ก” เงินช่วยเหลือนี้มีการจำกัดรายได้ และไม่รวมเด็กที่ไม่มีที่อยู่ภายในประเทศญี่ปุ่น จำนวนเงินที่ได้รับต่อเดือนจนถึงเดือนของวันก่อนวันเกิดคือ 15,000 เยน หลังจากนั้นเดือนละ 10,000 เยน (แต่ถ้ามีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปีจำนวน 3 คนหรือมากกว่า จะได้รับเงินเดือนละ 15,000 เยนจนถึงวันที่ 31 มีนาคมหนแรกหลังวันเกิดครบอายุ 12 ปีสำหรับบุตรตั้งแต่คนที่สามเป็นต้นไป) เงินช่วยเหลือเด็ก จะได้รับเงินจนถึงส่วนของเดือนก่อนหน้าทุกเดือนกุมภาพันธ์, มิถุนายน, ตุลาคมของทุกปี สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามช่องทางของฝ่ายรับผิดชอบสวัสดิการเด็กของสำนักงานเทศบาลในเขตที่อยู่

กลับไปด้านบนสุด

อยากขอรับการออกสมุดบุคคลทุพพลภาพ ควรทำอย่างไรดี

บุคคลที่มีความทุพพลภาพตามที่กฎหมายระบุ เช่น การมองเห็น, การได้ยิน, ฟังก์ชั่นควบคุมการทรงตัว,เสียงพูด-ภาษา, พิการ และอื่นๆ จะได้รับการออกสมุดบุคคลทุพพลภาพจากคำร้องของเจ้าตัว โดยออกตามระดับความทุพพลภาพ และเป็นผู้เข้าข่ายของระบบ เช่น การส่งผู้ช่วยไปที่บ้าน, การให้บริการรักษาปรับแก้, การให้เงินช่วยเหลือทุกประเภท, การลดหย่อนภาษีทุกประเภท, ส่วนลดค่าโดยสาร และอื่นๆ

สำหรับการดำเนินการ รับทำที่ฝ่ายรับผิดชอบสวัสดิการบุคคลทุพพลภาพของสำนักงานเทศบาลในเขตที่อยู่

เอกสารที่จำเป็นสำหรับขอยื่นคำร้อง มีดังต่อไปนี้

  1. เอกสารคำร้องขอรับการออกสมุดบุคคลทุพพลภาพ
  2. ใบรับรองแพทย์แนบความเห็นจากแพทย์ที่ระบุ
  3. รูปถ่าย (ครึ่งตัวบน ขนาดแนวตั้ง 4cm x แนวนอน 3 cm)
  4. ตราประทับ (ไม่จำเป็นหากเป็นชื่อของผู้เขียนเอง)
  5. เอกสารยืนยันตน (ใบอนุญาตขับขี่, เอกสารประกันสุขภาพ, บัตรต่างด้าว และอื่นๆ)

กลับไปด้านบนสุด

อยากขอรับการคุ้มครองความเป็นอยู่ ชาวต่างชาติสามารถรับได้หรือไม่

การที่ชาวต่างชาติจะขอรับการคุ้มครองความเป็นอยู่ จำเป็นต้องมีสถานภาพการพำนักเป็นผู้อาศัยถาวร, คู่สมรสของชาวญี่ปุ่น, คู่สมรสของผู้อาศัยถาวร, ผู้ตั้งถิ่นฐาน อย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับผลครอบคลุมของการคุ้มครองความเป็นอยู่นั้น จะทำการสืบรายได้หรือทรัพย์สินของครอบครัว เมื่อได้รับการรับรองตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนดจึงจะได้รับเงินช่วยเหลือการดำรงชีวิต

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาปรึกษาเจ้าหน้าที่สวัสดิการประชาชนหรือสถานที่ราชการส่วนท้องถิ่นที่ควบคุมดูแลพื้นที่ที่อาศัยอยู่

กลับไปด้านบนสุด

องค์กรสาธารณประโยชน์ สมาคมแลกเปลี่ยนนานาชาติจังหวัดไอจิ
ภายในศูนย์ราชการซังโนะมารุ จังหวัดไอจิ 2-6-1 Sannomaru, Naka-ku, Nagoya 460-0001
TEL : 052-961-8744 / E-mail:somu*aia.pref.aichi.jp (กรุณาเปลี่ยน * เป็นเครื่องหมาย @)
| ติดต่อสอบถาม | แผนที่เว็บไซต์
(C)2011 AICHI INTERNATIONAL ASSOCIATION